ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เคยไปเดิน เตร็ดเตร่ในม็อบพันธมิตรฯ และไม่ว่าคุณจะอยู่ฝ่ายไหน เราอยากให้คุณลองไปสักครั้ง ไม่ได้ชวนไปร่วมชุมนุม แต่ชวนไป ‘เที่ยว’
เพราะนับจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่พันธมิตรฯ เริ่มต้นชุมนุม ถึงตอนนี้ก็ปาเข้าไป 150 กว่าวันแล้ว ไม่ใช่เพียงในแง่ความยาวนานผิดปกติม็อบ แต่มันยังก่อเกิดวัฒนธรรมม็อบการเมืองที่มีสีสัน ชนิดที่ไม่มีม็อบประเทศไหนเขาทำกัน ทำให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่กลางกรุง ตั้งแต่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เรื่อยมาถึงแยกมิสกวัน เลี้ยวขวาเข้าถนนพิษณุโลกแล้ววนรอบทำเนียบรัฐบาล จนกลับออกมาที่สะพานมัฆวานฯ อีกครั้ง
‘ปริทรรศน์’ วันนี้จึงขอหลีกเลี่ยงการเมืองเรื่องเครียด อาสาเป็นไกด์นำเที่ยว พากินลมชมวิว เดินทอดน่อง จับจ่ายซื้อของ แวะชิมอาหารอร่อยๆ และชมผลิตผลทางศิลปวัฒนธรรมม็อบแบบไทยๆ
รู้จัก MOB PAD
เผื่อว่าบางคนอาจยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง ไม่รู้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ผุดขึ้นมาได้อย่างไร จึงขอบอกกล่าวสั้นๆ ถึงประวัติความเป็นมาของถนนสายวัฒนธรรมม็อบสายนี้
สถานการณ์ทางการเมืองนับตั้งแต่ปี 2549 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดำเนินต่อเนื่องจนเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากนั้นบ้านเมืองเราก็ลุ่มๆ ดอนๆ โคลงเคลงไปมา จนมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปี 2550 พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมากที่สุดและได้เป็นผู้นำใน การจัดตั้งรัฐบาล
แต่รัฐบาลยังทำงานได้ไม่กี่มากน้อยก็ลุกลี้ลุกลนจะแก้รัฐธรรมนูญให้ ได้ ซึ่งหลายฝ่ายมองออกว่าต้องการแก้เพื่ออะไรและเพื่อใคร จึงเป็นเหตุให้พันธมิตรฯ หวนคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง ปักหลักชุมนุมกันที่สะพานมัฆวานฯ เกิดปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า และยึดทำเนียบฯ ยืดเยื้อจนถึงปัจจุบันขณะ
ระหว่างนั้น จากที่มีแต่เวทีปราศรัยกับเต็นท์ที่พักของผู้ร่วมชุมนุม ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอยก็ค่อยๆ ผุดขึ้นตามกฎอุปสงค์-อุปทาน ตามมาด้วยร้านขายสินค้าประเภท Mob Product Design ตั้งแต่ของพื้นฐานทั่วไปอย่างผ้าพันคอ สายรัดข้อมือ ผ้าโพกหัว จนพัฒนารูปแบบหลากหลายยิ่งขึ้นเป็นเสื้อผ้าลวดลายต่างๆ ประกาศนียบัตร วีซีดีบันทึกภาพเหตุการณ์ โปสเตอร์ บริการโหลดริงโทนกู้ชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘มือตบสยบมาร’ สินค้ายอดฮิต
เตรียมตัวก่อนเดินทาง
สำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไม่มีอะไรต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ส่วนคนที่อยู่ต่างจังหวัดก็ทำตัวปกติเหมือนเวลาเข้ากรุงนั่นแหละ อาจจะมีเงื่อนไขเล็กๆ ว่าไม่ควรสวมใส่เสื้อสีแดง
การเดินทางค่อนข้างสะดวก เพราะมีรถเมล์หลายสายผ่าน ทั้งผ่านใกล้ และผ่านไกล โทร. สอบถามได้ที่ 184 (ถ้ามีคนรับ) หรือสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ซึ่งสะดวกกว่า แต่เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า และอาจต้องอธิบาย ต่อล้อต่อเถียง ขึ้นเสียง หรือถูกไล่ลง เป็นรสชาติให้กับชีวิต (ควรบอกแท็กซี่ว่าต้องไปทำธุระแถวนั้น)
สำหรับคนที่ไม่เคยไปม็อบพันธมิตรฯ มาก่อนในชีวิต ขอแนะนำให้ตั้งต้นที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยเดินเลาะไปตามกำแพงทำเนียบฯ
ถนนโดยรอบมีร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึกมากมายให้จับจ่ายซื้อหา วางขายกันเป็นแนวยาว เรียกว่าเกือบจะรอบทำเนียบฯ เริ่มต้นจากบริเวณสะพานมัฆวานฯ จนถึงประตูใหญ่หน้าทำเนียบฯ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืดลวดลายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรฯ หรือเสื้อทั่วๆ ไป พรม เหรียญพันธมิตรฯ (มีบริการเลี่ยมกรอบหรือทำเป็นพวงกุญแจ) ประกาศนียบัตรจบการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชดำเนิน หรือบริเวณสี่แยกมิสกวันก็มีบริการรับโหลดริงโทนกู้ชาติ รูปภาพ รูปถ่าย วีซีดีบันทึกเหตุการณ์ ฯลฯ
ถ้าเดินมากแล้วรู้สึกเมื่อยแข้งเมื่อยขา อยากจะผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ไม่ต้องกังวล เพราะมีบริการนวดเท้า จับเส้น กระจายอยู่หลายจุด สามารถเลือกรับบริการได้ตามสะดวก
แต่ถ้าใครต้องการชมศิลปะการเมือง ทั้งของศิลปินและของประชาชนผู้เข้าร่วมก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องใช้วิธีเดินดู เดินหา เดินชมเอาเอง เนื่องจากไม่มีจุดแสดงงานใหญ่ แต่จะจัดกระจายทั่วไปรอบๆ ทำเนียบฯ
หรือถ้าใครสนใจวิถีชีวิตชาวม็อบจากหลากหลายภูมิภาค คุณก็เดินชมได้ทั่วไป การตั้งที่พัก การใช้ชีวิตกินนอนแบบชาวม็อบปักหลักเป็นอย่างไร บางทีถ้าคุณเป็นชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาดิ้นรนในบางกอก คุณอาจจะเจอญาติร่วมจังหวัดของคุณ เช่น พันธมิตรฯ ชลบุรีจะมีเต็นท์ใหญ่อยู่ที่หน้าประตูหนึ่งของทำเนียบ ใกล้กันก็เป็นเต็นท์ของพี่น้องบางสะพาน เป็นต้น
ถ้าคุณไม่เคยเห็นทำเนียบรัฐบาลแบบใกล้ชิด ไม่เคยเอามือแตะๆ ตัวอาคารของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ไม่เคยดมกลิ่นทำเนียบฯ ที่ที่ผู้บริหารประเทศใช้เป็นสถานที่แบ่งสรรผลประโยชน์ นี่ถือเป็นโอกาสดีครั้งหนึ่งในชีวิต
เพราะคุณสามารถเดินชมสถาปัตยกรรมอันงดงามของทำเนียบรัฐบาลได้อย่าง แนบชิดและถ้วนทั่ว (ยกเว้นภายในตัวอาคาร) จับได้ ดมได้ หรือถ้าใครอยากจะลองหยุดฟังการไฮปาร์กหรือการแสดงดนตรีบนเวทีก็จับจองที่ นั่งได้ตามสะดวก หรือถ้าไม่อยากฟังก็เดินต่อไป
สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ม็อบพันธมิตรฯ 2 แห่งที่ถ้าคุณมีโอกาสก็ควรจะแวะไปกราบไหว้ขอพรคือ พระเจ้าตากสินตั้งอยู่หน้าเต็นท์พันธมิตรฯ ชลบุรี หน้าประตูหนึ่งของทำเนียบฯ เป็นสถานที่ที่ชาวม็อบพันธมิตรฯ ให้ความเคารพสักการะ แวะเวียนมากราบไหว้มิขาดสาย
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ 2 คือเต็นท์หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระเกจิผู้เป็นที่นับถือของคนใต้ เต็นท์ดังกล่าวตั้งอยู่ด้านหน้าของนักรบศรีวิชัย ถ้าคุณเดินเข้าประตูหนึ่งของทำเนียบฯ แล้วให้เลี้ยวซ้ายแล้วเดินไปเรื่อยก็จะพบ
มินิคอนเสิร์ต
ส่วนคอเพลงเพื่อชีวิต เอื่อยเฉื่อยบนถนนพิษณุโลกมุ่งหน้าสู่ทำเนียบฯ สังเกตทางขวามือ คุณจะพบเครือข่ายศิลปินฯ แสดงมินิคอนเสิร์ตในช่วงเย็น แวะชม แวะฟัง และร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือศิลปินตี๋ได้ที่นั่น
นาข้าวกลางทำเนียบฯ
ณ สนามหน้าตึกไทยคู่ฟ้า มีการทำนาข้าวสาธิต คุณอาจแวะเข้าไปเยี่ยมชม ถามไถ่วิธีการทำนาและชีวิตขื่นๆ ของชาวนาไทย ที่แสนโชคดีเพราะมีรัฐมนตรีพาณิชย์ที่จ้องแต่จะจำนำข้าวท่าเดียวได้ที่นั่น
พักชิมริมทาง
การมาม็อบพันธมิตรฯ ไม่ต้องกลัวว่าจะอดอยาก เพราะมีอาหารอร่อยๆ ให้เลือกชิมจนพุงกาง เราขอแนะนำสักสองสามที่ดังนี้
-โรงบุญพันธมิตรฯ อาหารมังสวิรัติอร่อยๆ มีให้ชิม ที่สำคัญฟรี
-อาหารแจกฟรีจากแม่ยก อันนี้ถ้าอยากชิมฟรีต้องใช้การสังเกตเอาเอง แต่หาไม่ยาก เพราะส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้คนต่อแถวคับคั่ง
3 ร้านอาหารต่อไปนี้อยู่บริเวณแยกมิสกวันหัวมุมถนนพิษณุโลก
-ร้านข้าวแกงปักษ์ใต้นครศรีธรรมราชรสจัดจ้าน ราคาย่อมเยา อาหารหลากหลายให้เลือก มีน้ำบริการฟรี
-ร้านเบอร์เกอร์ไก่ ปลา ของพี่น้องมุสลิม
-ร้านโรตี โซลวาเนีย สังเกตง่ายเพราะเต็นท์สีเหลืองและมักจะมีผู้คนรอคิวกันอยู่แน่นหน้าร้านเป็น ประจำ มีเมนูอาหารอิสลามหลายอย่าง โรตีหน้าต่างๆ รวมถึงข้าวหมกไก่
ขอให้สนุกกับการท่องเที่ยว และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
**************
เรื่อง-กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
เพราะนับจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่พันธมิตรฯ เริ่มต้นชุมนุม ถึงตอนนี้ก็ปาเข้าไป 150 กว่าวันแล้ว ไม่ใช่เพียงในแง่ความยาวนานผิดปกติม็อบ แต่มันยังก่อเกิดวัฒนธรรมม็อบการเมืองที่มีสีสัน ชนิดที่ไม่มีม็อบประเทศไหนเขาทำกัน ทำให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่กลางกรุง ตั้งแต่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เรื่อยมาถึงแยกมิสกวัน เลี้ยวขวาเข้าถนนพิษณุโลกแล้ววนรอบทำเนียบรัฐบาล จนกลับออกมาที่สะพานมัฆวานฯ อีกครั้ง
‘ปริทรรศน์’ วันนี้จึงขอหลีกเลี่ยงการเมืองเรื่องเครียด อาสาเป็นไกด์นำเที่ยว พากินลมชมวิว เดินทอดน่อง จับจ่ายซื้อของ แวะชิมอาหารอร่อยๆ และชมผลิตผลทางศิลปวัฒนธรรมม็อบแบบไทยๆ
รู้จัก MOB PAD
เผื่อว่าบางคนอาจยังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง ไม่รู้ว่าสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ผุดขึ้นมาได้อย่างไร จึงขอบอกกล่าวสั้นๆ ถึงประวัติความเป็นมาของถนนสายวัฒนธรรมม็อบสายนี้
สถานการณ์ทางการเมืองนับตั้งแต่ปี 2549 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดำเนินต่อเนื่องจนเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากนั้นบ้านเมืองเราก็ลุ่มๆ ดอนๆ โคลงเคลงไปมา จนมีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปี 2550 พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมากที่สุดและได้เป็นผู้นำใน การจัดตั้งรัฐบาล
แต่รัฐบาลยังทำงานได้ไม่กี่มากน้อยก็ลุกลี้ลุกลนจะแก้รัฐธรรมนูญให้ ได้ ซึ่งหลายฝ่ายมองออกว่าต้องการแก้เพื่ออะไรและเพื่อใคร จึงเป็นเหตุให้พันธมิตรฯ หวนคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง ปักหลักชุมนุมกันที่สะพานมัฆวานฯ เกิดปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า และยึดทำเนียบฯ ยืดเยื้อจนถึงปัจจุบันขณะ
ระหว่างนั้น จากที่มีแต่เวทีปราศรัยกับเต็นท์ที่พักของผู้ร่วมชุมนุม ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอยก็ค่อยๆ ผุดขึ้นตามกฎอุปสงค์-อุปทาน ตามมาด้วยร้านขายสินค้าประเภท Mob Product Design ตั้งแต่ของพื้นฐานทั่วไปอย่างผ้าพันคอ สายรัดข้อมือ ผ้าโพกหัว จนพัฒนารูปแบบหลากหลายยิ่งขึ้นเป็นเสื้อผ้าลวดลายต่างๆ ประกาศนียบัตร วีซีดีบันทึกภาพเหตุการณ์ โปสเตอร์ บริการโหลดริงโทนกู้ชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘มือตบสยบมาร’ สินค้ายอดฮิต
เตรียมตัวก่อนเดินทาง
สำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ไม่มีอะไรต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ส่วนคนที่อยู่ต่างจังหวัดก็ทำตัวปกติเหมือนเวลาเข้ากรุงนั่นแหละ อาจจะมีเงื่อนไขเล็กๆ ว่าไม่ควรสวมใส่เสื้อสีแดง
การเดินทางค่อนข้างสะดวก เพราะมีรถเมล์หลายสายผ่าน ทั้งผ่านใกล้ และผ่านไกล โทร. สอบถามได้ที่ 184 (ถ้ามีคนรับ) หรือสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ซึ่งสะดวกกว่า แต่เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า และอาจต้องอธิบาย ต่อล้อต่อเถียง ขึ้นเสียง หรือถูกไล่ลง เป็นรสชาติให้กับชีวิต (ควรบอกแท็กซี่ว่าต้องไปทำธุระแถวนั้น)
สำหรับคนที่ไม่เคยไปม็อบพันธมิตรฯ มาก่อนในชีวิต ขอแนะนำให้ตั้งต้นที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยเดินเลาะไปตามกำแพงทำเนียบฯ
ถนนโดยรอบมีร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึกมากมายให้จับจ่ายซื้อหา วางขายกันเป็นแนวยาว เรียกว่าเกือบจะรอบทำเนียบฯ เริ่มต้นจากบริเวณสะพานมัฆวานฯ จนถึงประตูใหญ่หน้าทำเนียบฯ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืดลวดลายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรฯ หรือเสื้อทั่วๆ ไป พรม เหรียญพันธมิตรฯ (มีบริการเลี่ยมกรอบหรือทำเป็นพวงกุญแจ) ประกาศนียบัตรจบการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชดำเนิน หรือบริเวณสี่แยกมิสกวันก็มีบริการรับโหลดริงโทนกู้ชาติ รูปภาพ รูปถ่าย วีซีดีบันทึกเหตุการณ์ ฯลฯ
ถ้าเดินมากแล้วรู้สึกเมื่อยแข้งเมื่อยขา อยากจะผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ไม่ต้องกังวล เพราะมีบริการนวดเท้า จับเส้น กระจายอยู่หลายจุด สามารถเลือกรับบริการได้ตามสะดวก
แต่ถ้าใครต้องการชมศิลปะการเมือง ทั้งของศิลปินและของประชาชนผู้เข้าร่วมก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องใช้วิธีเดินดู เดินหา เดินชมเอาเอง เนื่องจากไม่มีจุดแสดงงานใหญ่ แต่จะจัดกระจายทั่วไปรอบๆ ทำเนียบฯ
หรือถ้าใครสนใจวิถีชีวิตชาวม็อบจากหลากหลายภูมิภาค คุณก็เดินชมได้ทั่วไป การตั้งที่พัก การใช้ชีวิตกินนอนแบบชาวม็อบปักหลักเป็นอย่างไร บางทีถ้าคุณเป็นชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาดิ้นรนในบางกอก คุณอาจจะเจอญาติร่วมจังหวัดของคุณ เช่น พันธมิตรฯ ชลบุรีจะมีเต็นท์ใหญ่อยู่ที่หน้าประตูหนึ่งของทำเนียบ ใกล้กันก็เป็นเต็นท์ของพี่น้องบางสะพาน เป็นต้น
ถ้าคุณไม่เคยเห็นทำเนียบรัฐบาลแบบใกล้ชิด ไม่เคยเอามือแตะๆ ตัวอาคารของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ไม่เคยดมกลิ่นทำเนียบฯ ที่ที่ผู้บริหารประเทศใช้เป็นสถานที่แบ่งสรรผลประโยชน์ นี่ถือเป็นโอกาสดีครั้งหนึ่งในชีวิต
เพราะคุณสามารถเดินชมสถาปัตยกรรมอันงดงามของทำเนียบรัฐบาลได้อย่าง แนบชิดและถ้วนทั่ว (ยกเว้นภายในตัวอาคาร) จับได้ ดมได้ หรือถ้าใครอยากจะลองหยุดฟังการไฮปาร์กหรือการแสดงดนตรีบนเวทีก็จับจองที่ นั่งได้ตามสะดวก หรือถ้าไม่อยากฟังก็เดินต่อไป
สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ม็อบพันธมิตรฯ 2 แห่งที่ถ้าคุณมีโอกาสก็ควรจะแวะไปกราบไหว้ขอพรคือ พระเจ้าตากสินตั้งอยู่หน้าเต็นท์พันธมิตรฯ ชลบุรี หน้าประตูหนึ่งของทำเนียบฯ เป็นสถานที่ที่ชาวม็อบพันธมิตรฯ ให้ความเคารพสักการะ แวะเวียนมากราบไหว้มิขาดสาย
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ 2 คือเต็นท์หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระเกจิผู้เป็นที่นับถือของคนใต้ เต็นท์ดังกล่าวตั้งอยู่ด้านหน้าของนักรบศรีวิชัย ถ้าคุณเดินเข้าประตูหนึ่งของทำเนียบฯ แล้วให้เลี้ยวซ้ายแล้วเดินไปเรื่อยก็จะพบ
มินิคอนเสิร์ต
ส่วนคอเพลงเพื่อชีวิต เอื่อยเฉื่อยบนถนนพิษณุโลกมุ่งหน้าสู่ทำเนียบฯ สังเกตทางขวามือ คุณจะพบเครือข่ายศิลปินฯ แสดงมินิคอนเสิร์ตในช่วงเย็น แวะชม แวะฟัง และร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือศิลปินตี๋ได้ที่นั่น
นาข้าวกลางทำเนียบฯ
ณ สนามหน้าตึกไทยคู่ฟ้า มีการทำนาข้าวสาธิต คุณอาจแวะเข้าไปเยี่ยมชม ถามไถ่วิธีการทำนาและชีวิตขื่นๆ ของชาวนาไทย ที่แสนโชคดีเพราะมีรัฐมนตรีพาณิชย์ที่จ้องแต่จะจำนำข้าวท่าเดียวได้ที่นั่น
พักชิมริมทาง
การมาม็อบพันธมิตรฯ ไม่ต้องกลัวว่าจะอดอยาก เพราะมีอาหารอร่อยๆ ให้เลือกชิมจนพุงกาง เราขอแนะนำสักสองสามที่ดังนี้
-โรงบุญพันธมิตรฯ อาหารมังสวิรัติอร่อยๆ มีให้ชิม ที่สำคัญฟรี
-อาหารแจกฟรีจากแม่ยก อันนี้ถ้าอยากชิมฟรีต้องใช้การสังเกตเอาเอง แต่หาไม่ยาก เพราะส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้คนต่อแถวคับคั่ง
3 ร้านอาหารต่อไปนี้อยู่บริเวณแยกมิสกวันหัวมุมถนนพิษณุโลก
-ร้านข้าวแกงปักษ์ใต้นครศรีธรรมราชรสจัดจ้าน ราคาย่อมเยา อาหารหลากหลายให้เลือก มีน้ำบริการฟรี
-ร้านเบอร์เกอร์ไก่ ปลา ของพี่น้องมุสลิม
-ร้านโรตี โซลวาเนีย สังเกตง่ายเพราะเต็นท์สีเหลืองและมักจะมีผู้คนรอคิวกันอยู่แน่นหน้าร้านเป็น ประจำ มีเมนูอาหารอิสลามหลายอย่าง โรตีหน้าต่างๆ รวมถึงข้าวหมกไก่
ขอให้สนุกกับการท่องเที่ยว และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
**************
เรื่อง-กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
No comments:
Post a Comment